Ethernet

Ethernet
ความหมายของIEEE 802.3
IEEE 802.3 หรือ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็นเครือข่ายที่มีความเร็วสูงการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที
สถานีในเครือข่ายอาจมีโทโปโลยีแบบัสหรือแบบดาว IEEE
ได้กำหนดมาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งทำงานที่ความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีไว้หลายประเภทตามชนิดสายสัญญาณ
เช่น• 10Base5 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอกเชียลแบบหนา (Thick Ethernet)
ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 500 เมตร
• 10Base2 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอ๊กเชียลแบบบาง (Thin Ethernet)
ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 185 เมตร
• 10BaseT อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบดาวซึ่งใช้ฮับเป็นศูนย์กลาง
สถานีและฮับเชื่อมด้วยสายยูทีพี (Unshield Twisted Pair) ด้วยความยาวไม่เกิน 100 เมตรรูปที่ข้างล่าง
แสดงถึงลักษณะเครือข่ายอีเทอร์เน็ตแยกตามประเภทของสายสัญญาณ
รหัสขึ้นต้นด้วย 10 หมายถึงความเร็วสายสัญญาณ 10 เมกะบิตต่อวินาที
คำว่า “Base” หมายถึงสัญญาณชนิด “Base” รหัสถัดมาหากเป็นตัวเลข
หมายถึงความยาวสายต่อเซกเมนต์ในหน่วยหนึ่งร้อยเมตร (5=500, 2 แทนค่า 185) หากเป็นอักษร
จะหมายถึงชนิดของสาย เช่น T คือ Twisted pair หรือ F คือ Fiber optics
ส่วนมาตรฐานอีเทอร์เน็ตความเร็ว 100 เมกกะบิตต่อวินาทีที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่
100BaseTX และ 100BaseFX
สำหรับอีเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบกิกะบิตอีเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายมากขึ้น
ตัวอย่างของมาตรฐานกิกะบิตอีเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้แก่ 100BaseT, 100BaseLX และ 100BaseSX เป็นต้น
อีเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล ซีเอสเอ็มเอ/ซีดี (CSMA/CD : Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection)
เป็นตัวกำหนดขั้นตอนให้สถานีเข้าครอบครองสายสัญญาณ ในขณะเวลาหนึ่งจะมีเพียงสถานีเดียวที่เข้าครองสายสัญญาณเพื่อส่งข้อมูล
สถานีที่ต้องการส่งข้อมูลต้องการตรวจสอบสายสัญญาณว่ามีสถานีอื่นใช้สายอยู่หรือไม่ ถ้าสายสัญญาณว่างก็ส่งข้อมูลได้ทันที
หากไม่ว่างก็ต้องคอยจนกว่าสายสัญญาณว่างจึงจะส่งข้อมูลได้ ขณะที่สถานีหนึ่ง ๆ กำลังส่งข้อมูล
ก็ต้องตรวจสอบสายสัญญาณไปพร้อมกันด้วยเพื่อตรวจว่าในจังหวะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นมีสถานีอื่นซึ่งพบสายสัญญาณว่างและ
ส่งข้อมูลมาหรือไม่
หากเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นแล้ว ข้อมูลจากทั้งสองสถานีจะผสมกันหรือเรียกว่า การชนกัน (Collision)
และนำไปใช้ไม่ได้ สถานีจะต้องหยุดส่งและสุ่มหาเวลาเพื่อเข้าใช้สายสัญญาณใหม่ ใ
นเครือข่ายอีเทอร์เน็ตที่มีสถานีจำนวนมากมักพบว่าการทานจะล่าช้าเพราะแต่ละสถานีพยายามยึดช่องสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลและ
เกิดการชนกันเกือบตลอดเวลา
โดยไม่สามารถกำหนดว่าสถานีใดจะได้ใช้สายสัญญาณเมื่อเวลาใด อีเทอร์เน็ตจึงไม่มีเหมาะกับการใช้งานในระบบจริง

2.10 Base 2
10 Base 2 เป็นรูปแบบต่อสายโดยใช้สาย Coaxial
มีเส้นศูนย์กลาง 1/4 นิ้ว เรียกว่า Thin Coaxial สายจะมีความยาวไม่เกิน 180 เมตร
มาตรฐาน 10 Base 2 ความหมาย 10 คือความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps Base
คือการส่งข้อมูลแบบ Baseband 2 คือความยาวสูงสุด 200 เมตร (185 – 200 เมตร )
10 Base 2 เป็นแบบเครือข่ายที่ใช้สาย Coaxial แบบบาง (Thin Coaxial) ชนิด RG-58 A/U
โดยจะมี Teminator (50 โอมห์ ) เป็นตัวปิดหัว และท้ายของเครือข่ายข้อกำหนดของ 10 Base 2
• ใช้สาย Thin Coaxial ชนิด RG-58 A/U
• หัวที่ใช้ต่อกับสายคือ หัว BNC
• ห้ามต่อหัว BNC เข้ากับ LAN Card โดยตรง ต้องต่อด้วย T-Connector เท่านั้น
• เครื่องตัวแรกและตัวสุดท้ายในเครือข่าย ต้องปิดด้วย Terminator ขนาด 50 โอมห์
• ความยาวของสายแต่ละเส้นที่ต่อระหว่าง Workstation ต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 0.5 เมตร
• สายสัญญาณต่อ 1 Segment ยาวไม่เกิน 200 เมตร (185 – 200 เมตร )
• ใน 1 Segment สามารถต่อเป็นเครือข่ายได้ไม่เกิน 30 เครื่อง
• ในกรณีที่ต้องการต่อมากกว่า 30 เครื่อง ต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Repeater
เพื่อเพิ่ม Segment โดยสามารถต่อ Repeater ได้ไม่เกิน 4 Repeater ( ดังนั้น 4 Repeater = 5 Segment)
• ความยาวของสายสัญญาณทั้งหมด สูงสุด 1000 เมตร (200 เมตรต่อ 1 Segment คูณด้วย 5 Segment)
• จำนวนเครื่องสูงสุดในเครือข่าย 150 เครื่อง (30 เครื่องต่อ 1 Segment คูณด้วย 5 Segment)

3.10 Base 5
ความหมาย 10 คือความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps Base คือการส่งข้อมูลแบบ Baseband
• คือความยาวสูงสุด 500 เมตร 10 Base 5 เป็นแบบเครือข่ายที่มีลักษณะคล้ายกับ 10 Base 2
แต่จะใช้สาย Coaxial แบบหนา (Thick Coaxial หรือ Back Bone)
เป็นสายชนิด RG-8 ซึ่งสายจะเป็นสีเหลืองและมีขนาดใหญ่โดย Teminator (50 โอมห์ ) เป็นตัวปิดหัว
และท้ายของเครือข่าย เครือข่ายชนิด 10 Base 5 นี้ จะมีต่อจำนวนเครื่องได้มากกว่า
และต่อในระยะได้ไกลกว่าแบบ 10 Base 2 แต่ในปัจจุบันมักไม่นิยมใช้กัน
เนื่องจากต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ควรทราบ มีดังนี้
แผงวงจรเครือข่าย (LAN Card) คือแผงวงจรเครือข่ายที่เสียบไว้กับตัวเครื่อง และเชื่อมต่อด้วยสายเพื่อต่อเป็นเครือข่าย
โดยแผงวงจรเครือข่ายนี้จะมีหัวเสียบเป็นชนิด DIX Connector Socket ( LAN Card ) ชนิด AUI
ใช้กับมาตรฐาน 10 Base 5ข้อกำหนดของ 10 Base 5
• ใช้สาย Thick Coaxial ชนิด RG-8
• หัวที่ใช้ต่อกับสายคือหัว DIX หรือบางทีอาจจะเรียกว่า หัว AUI
• เครื่องตัวแรกและตัวสุดท้ายในเครือข่ายต้องปิดด้วย N-Series Terminator ขนาด 50 โอมห์
• ระยะห่างระหว่าง Transceiver ต้องไม่ต่ำกว่า 2.5 เมตร
• Transceiver Cable จะมีความยาวได้ไม่เกิน 50 เมตร
• ใน 1 Segment สามารถต่อเป็นเครือข่ายได้ไม่เกิน 100 เครื่อง
• สายสัญญาณต่อ 1 Segment ยาวไม่เกิน 500 เมตร
• ในกรณีที่ต้องการต่อมากกว่า 100 เครื่อง ต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Repeater
เพื่อเพิ่มSegment โดยสามารถต่อ Repeater ได้ไม่เกิน 4 Repeater (ดังนั้น 4 Repeater = 5 Segment)
• ความยาวของสายสัญญาณทั้งหมด สูงสุด 2,500 เมตร (500 เมตรต่อ 1 Segment คูณด้วย 5 Segment )
• จำนวนเครื่องสูงสุดในเครือข่าย 500 เครื่อง (100 เครื่องต่อ Segment คูณด้วย 5 Segment )


4.100 Base F
100Base-Fสาย AMP OSP (Outside Plant) ถูกออกแบบมาเฉพาะเพื่อการติดตั้งในพื้นที่ขนาดใหญ่
เพราะสามารถติดตั้งไว้บนเสาโยง หรือลอดท่อใต้ดิน เพื่อเชื่อมต่อระหว่างอาคาร สายถูกทดสอบตามมาตรฐาน TIA
ซึ่งเป็นข้อกำหนดสำหรับสายไฟเบอร์ออปกติ ทั้งยังมีคุณสมบัติเกินมาตรฐานไปอีกขั้น
จึงรองรับได้ทั้ง 100Base-F, 155/622 Mbps ATM และกิกะบิตอีเธอร์เน็ต

5.100BASE-FX
100BASE-FX Multimode LC SFP Transceiver
(P/N: DEM-211) มอบประสิทธิภาพการทำงานระดับสูงให้กับแอพพลิเคชันการสื่อสารข้อมูลแบบซีเรียลออพติคัลดาต้า
นอกจากนั้นยังประกอบด้วยตัวเชื่อมต่อที่มีการทำงานแบบดูเพล็กซ์ LC
รวมถึงยังสามารถใช้งานร่วมกับมาตรฐานการสื่อสารแบบ IEEE 802.3u
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นเป็น 100 เมกะบิตต่อวินาที ในโหมดฮาฟดูเพล็กซ์สำหรับแอพพลิเคชันเคเบิลไฟเบอร์
ทั้งนี้การอินทริเกรทตัวรับส่งคุณภาพสูงของดีลิงค์นั้นก็เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
ปราศจากอาการกระตุกของสัญญาณ และเพื่อให้การเชื่อมต่อแบบออพติคัลสามารถขยายออกไปได้มากยิ่ง
ขึ้นโดยไม่มีการลดประสิทธิภาพลง อุปกรณ์นี้จึงช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลในระยะสั้น ระยะกลาง
และระยะทางที่ไกลๆ ทั้งในส่วนของการใช้งานภายในอาคาร โรงงาน แคมปัสและในตัวเมืองมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น
และเมื่อสวิตช์ 2 ตัวมีการเชื่อมต่อกันแล้วโดยใช้ตัวรับส่ง DEM-211 ทั้ง 2 ทาง
ผู้ใช้งานจะได้รับอัตราเร็วของการเชื่อมต่อที่ระดับ 155 เมกะบิตต่อวินาที
ยิ่งไปกว่านั้นยังได้มอบการเชื่อมต่อแบบไฟเบอร์ออพติค 100BASE-FX SFP
บนพอร์ต Gigabit combo SFP ให้กับสวิตช์ของดีลิงค์อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น