D-Link GLV-515 SIP โทรศัพท์ไอพีโฟน

โทรศัพท์ไอพีโฟน รุ่นล่าสุดที่รองรับการใช้กระแสไฟฟ้าผ่านเครือข่าย LAN ซึ่งได้รวมเทคโนโลยีการบีอัดข้อมูลเสียงที่มีประสิทธิภาพ เพื่อแปลงเสียง Analog เป็น ไอพีแพ็คเก็จ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต GLV-515 รองรับมาตรฐาน SIP โปรโตคอลมาพร้อมพอร์ต LAN 2 พอร์ต แบบ 10/100 Mbps สามารถใช้ทั้งอินเตอร์เน็ตและเสียงได้พร้อมกันเหมาะสำหรับงานทั้งออฟขนาดเล็กและโฮมออฟฟิตสามารถใช้งานเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ไอพีโฟนอีกเครื่องโดยตรงหรือทำงานคู่กับ D-Link IP PBX รุ่น DVX-1000 ซึ่งเป็นตู้สาขาระบบไอพี สามารถโอนสาย ประชุมและรอสายต่างๆ

บรรณานุกรม
D-Link GLV-515SIP โทรศัพท์ไอพีโฟน,Micro Computer,2552:26

CEBIT 2005

VGA Onboard ในชิพเซต Athlon 64 จาก Nvdia ก่อนหน้านี้จะไม่มีใครพูดถึงชิพเซตที่มีระบบแสดงผลในตัวสนับสนุนซีพียู Amd 64 bit แต่ Fic ผู้ผลิตเมนบอร์ดได้ส่งบอร์ดตัวต้นแบบ KTMC51d ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา Nvdia ที่จะร่วมระบบแสดงผลในตัวโดยแกนชิพเซตนี้ยังมีสล็อต PCI Express x16 เพื่อติดตั้งการ์ดแสดงผลเพิ่มมี Serial ATA-11,Gigebit Ethernet,PCI Express IX,Flrerire USB 2.0 ชิพเซตจะสนีบสนุนซีฑียู Amd 64 ใน socket 939 และ 759 ที่ทำงาน 500MHz และ 1000MHz HyperTramsport แกน กราฟฟิค C51G จะอยู่ในระดับ Gefores 6200 เลยทีเดียว

บรรณานุกรม
อ.วิตรา หงษ์เทียน,"CEBIT 2005" Computer User,ปีที่11,ฉบับที่110 (2547:35)

sony เปิดตัวเครื่องเล่นเพลง NW-A3000 และ NW-A1000

Sony เปิดตัวเครื่องเล่นเพลงพกพาตัวใหม่มีขนาดให้เลือก 20GB หรือ 6GB Sony NW-A3000 มีขนาด 20GB มีสองสีให้เลือกคือสีเงินและสีม่วงมีหน้าจอ OLED ขนาด 2 นิ้ว เหมือนรุ่น 20GB แต่มีขนาดเล็กกว่าคือ 1.5 นิ้ว ส่วนหูฟังที่ให้มานั้นก็จะเป็นสีที่เข้ากันกับตัวเครื่อง ทั้งสองรุ่นมีระบบการเล่นแบบสุ่มหลายแบบ เช่น My Favorite Shuffle จะเป็นการเลือกเพลงที่เราชอบมากที่สุด 100 เพลงมาเล่นเฉพาะเพลงที่ออกในปีนั้นๆ เช่น เล่นเพลงยุค 80 เป็นต้น

บรรณานุกรม
GM 2000,Sony เปิดตัวเครื่องเล่นเพลง NW-A3000 และ NW-1000,ปีที่9,ฉบับที่103,October 2005

VIA สร้างระบบเสียงของตนเอง

แม้วาการเปิดตัวชิพของ VIA จะดูไม่เด่นนักเนื่องจากไม่มีอะไรใหม่ แต่ก็ไม่เสียฟอร์มด้วยการส่งเทคโนโลยีด้านมัลติมีเดีย Enry multimedia product ก่อนหน้านี้ VIA ก็เริ่มผลิตการ์ดเสียงขายให้กับรายใหญ่ เช่น Herules ก็นับว่าเหนื่อยมาก เพราะหากพูดถึงระบบเสี่ยงคอมพิวเตอร์ ทุกคนต้องนึกถึง Creative Lab's ทันทีทำให้ VIA จึงไม่อยากเสี่ยงเข้าไปวัดดวง VIA จึงหันไปเน้นการผลิตระบบเสียงบนคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คแทนรุ่น Enry 24MT ระบบเสี่ยงบนโน๊ตบุ๊คสำหลับ ผู้ต้องการคุณภาพสูง ระบบที่ติดตั้งบนโน๊ตบุ๊คส่วนมากเป็น AC '97 Audio ตลาดโน๊ตบุ๊คกำลังโตเน้นทางมัลติมีเดียมากขึ้น ก็ไม่ใช้เรื่องง่ายเพราะ Centrino รุ่นใหม่ของ Intel High definition Audio และ Creative ก็ส่ง Audigy 2 ในแบบ PCMCIA เช่นกัน ทำให้ Enry 24MT เป็น PCMCIA ยังมีคู่แข่งไม่น้อยเลย

บรรณานุกรม
Computer User,VIA สร้างระบบเสียงของตนเอง,ปีที่ 12,ฉบับที่134,2548

The Dawn Of The Net

The Dawn Of The Net

การส่งผ่านข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น สายโทรศัพท์ ไฟเบอร์ ใยแก้วนำแสง ซึ่งส่งข้อมูลหลายชนิดหลายรูป การส่งข้อมูลในระบบ internet เป็นระบบที่ได้รับความนิยมมาก การทำงานในการส่งข้อมูล
  1. ก่อนส่งไปต้องเก็บข้อมูลเป็น packet หลาย packet มีหลายชนิด เช่น TCP packet,ICMD packet,UDP packet
  2. ในแต่ละ packet มีการติดฉลาก เพื่อให้ทราบข้อมูลเกื่ยวกับ packet นั้นๆ
  3. ส่งข้อมูลแต่ละ packet ไปตามเส้นทาง ซึ่งในระหว่างส่งข้อมูลบาง packet จะถูกทำลายไป
  4. ส่งแต่ละ packet เดินทางไป-กลับ เหมือนรถที่วิ่งบนถนนไม่แบ่งเลนจะมี router ค่อยจัดเส้นทางที่เหมาะสมให้กับ packet
  5. จาก router จะไปที่ router switch เพื่อคัดแยกข้อมูลออกเป็นหลายทางเพื่อส่ง packet ไปยัง proxy โดยปัดข้อมูลไปตามทาง กำหนดเส้นทางต้วยเลขฐานสอง
  6. จากนั้น proxy ทำการคัดแยกจ้อมูลเก็บไว้เป็นชั้นๆ ซึ่ง proxy จะแกะ packet เพื่อตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมาผ่านหรือไม่ ถ้าดีก็ผ่าน หากไม่ก็จะถูกทำลาย
  7. ข้อมูลที่ผ่านไปตามเส้นทางการเดินทางจะมี router จัดเส้นทางอีกรอบส่งไปถึงส่วน firewall ทำหน้าที่เป็นกำแพงกั้นเป็นลักษณะของ security จะกั้นตามที่เราตั้งไว้ อันใหนที่ให้ผ่านจะเปิด-รับข้อมูล อันไหนเราตั้งไม่ให้ผ่าน ข้อมูลก็ไม่สามารถผ่านไปได้
  8. แล้วข้อมูลที่ผ่านเข้าไปแต่ละ port ได้จะถูกตรวจสอบอีกครั้ง แต่บางข้อมูลผ่านไม่ได้ จะถูกทำลายโดย web browser
  9. เมื่อ packet กับมาที่เครื่องเรา จะถูกเก็บเข้าสู่หน่วยความจำ โดยเทข้อมูลออกจากนั้นก็ส่งข้อมูลเข้าสู่ internet โดย web browser ส่วน packet ที่ใช้แล้วจะถูกส่วนหัวออกและนำกลับไปใช้ใส่ของมูลครั้งต่อไป

RJ-45

1 แบบ T568B Crossover

RJ-45 CABLE (CAT 5)
Pin Symbol Color
1 TD+ ขาวส้ม
2 TD- ส้ม
3 RX+ ขาวเขียว
4 Not Assigned น้ำเงิน
5 Not Assigned ขาวน้ำเงิน
6 RX- เขียว
7 Not Assigned ขาวน้ำตาล
8 Not Assigned น้ำตาล



2 แบบ T568A (Cross)

RJ-45 CABLE (CAT 5)
Pin Symbol Color
1 TD+ ขาวเขียว
2 TD- เขียว
3 RX+ ขาวส้ม
4 Not Assigned น้ำเงิน
5 Not Assigned ขาวน้ำเงิน
6 RX- ส้ม
7 Not Assigned ขาวน้ำตาล
8 Not Assigned น้ำตาล

Ethernet

Ethernet
ความหมายของIEEE 802.3
IEEE 802.3 หรือ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็นเครือข่ายที่มีความเร็วสูงการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที
สถานีในเครือข่ายอาจมีโทโปโลยีแบบัสหรือแบบดาว IEEE
ได้กำหนดมาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งทำงานที่ความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีไว้หลายประเภทตามชนิดสายสัญญาณ
เช่น• 10Base5 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอกเชียลแบบหนา (Thick Ethernet)
ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 500 เมตร
• 10Base2 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอ๊กเชียลแบบบาง (Thin Ethernet)
ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 185 เมตร
• 10BaseT อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบดาวซึ่งใช้ฮับเป็นศูนย์กลาง
สถานีและฮับเชื่อมด้วยสายยูทีพี (Unshield Twisted Pair) ด้วยความยาวไม่เกิน 100 เมตรรูปที่ข้างล่าง
แสดงถึงลักษณะเครือข่ายอีเทอร์เน็ตแยกตามประเภทของสายสัญญาณ
รหัสขึ้นต้นด้วย 10 หมายถึงความเร็วสายสัญญาณ 10 เมกะบิตต่อวินาที
คำว่า “Base” หมายถึงสัญญาณชนิด “Base” รหัสถัดมาหากเป็นตัวเลข
หมายถึงความยาวสายต่อเซกเมนต์ในหน่วยหนึ่งร้อยเมตร (5=500, 2 แทนค่า 185) หากเป็นอักษร
จะหมายถึงชนิดของสาย เช่น T คือ Twisted pair หรือ F คือ Fiber optics
ส่วนมาตรฐานอีเทอร์เน็ตความเร็ว 100 เมกกะบิตต่อวินาทีที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่
100BaseTX และ 100BaseFX
สำหรับอีเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบกิกะบิตอีเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายมากขึ้น
ตัวอย่างของมาตรฐานกิกะบิตอีเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้แก่ 100BaseT, 100BaseLX และ 100BaseSX เป็นต้น
อีเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล ซีเอสเอ็มเอ/ซีดี (CSMA/CD : Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection)
เป็นตัวกำหนดขั้นตอนให้สถานีเข้าครอบครองสายสัญญาณ ในขณะเวลาหนึ่งจะมีเพียงสถานีเดียวที่เข้าครองสายสัญญาณเพื่อส่งข้อมูล
สถานีที่ต้องการส่งข้อมูลต้องการตรวจสอบสายสัญญาณว่ามีสถานีอื่นใช้สายอยู่หรือไม่ ถ้าสายสัญญาณว่างก็ส่งข้อมูลได้ทันที
หากไม่ว่างก็ต้องคอยจนกว่าสายสัญญาณว่างจึงจะส่งข้อมูลได้ ขณะที่สถานีหนึ่ง ๆ กำลังส่งข้อมูล
ก็ต้องตรวจสอบสายสัญญาณไปพร้อมกันด้วยเพื่อตรวจว่าในจังหวะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นมีสถานีอื่นซึ่งพบสายสัญญาณว่างและ
ส่งข้อมูลมาหรือไม่
หากเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นแล้ว ข้อมูลจากทั้งสองสถานีจะผสมกันหรือเรียกว่า การชนกัน (Collision)
และนำไปใช้ไม่ได้ สถานีจะต้องหยุดส่งและสุ่มหาเวลาเพื่อเข้าใช้สายสัญญาณใหม่ ใ
นเครือข่ายอีเทอร์เน็ตที่มีสถานีจำนวนมากมักพบว่าการทานจะล่าช้าเพราะแต่ละสถานีพยายามยึดช่องสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลและ
เกิดการชนกันเกือบตลอดเวลา
โดยไม่สามารถกำหนดว่าสถานีใดจะได้ใช้สายสัญญาณเมื่อเวลาใด อีเทอร์เน็ตจึงไม่มีเหมาะกับการใช้งานในระบบจริง

2.10 Base 2
10 Base 2 เป็นรูปแบบต่อสายโดยใช้สาย Coaxial
มีเส้นศูนย์กลาง 1/4 นิ้ว เรียกว่า Thin Coaxial สายจะมีความยาวไม่เกิน 180 เมตร
มาตรฐาน 10 Base 2 ความหมาย 10 คือความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps Base
คือการส่งข้อมูลแบบ Baseband 2 คือความยาวสูงสุด 200 เมตร (185 – 200 เมตร )
10 Base 2 เป็นแบบเครือข่ายที่ใช้สาย Coaxial แบบบาง (Thin Coaxial) ชนิด RG-58 A/U
โดยจะมี Teminator (50 โอมห์ ) เป็นตัวปิดหัว และท้ายของเครือข่ายข้อกำหนดของ 10 Base 2
• ใช้สาย Thin Coaxial ชนิด RG-58 A/U
• หัวที่ใช้ต่อกับสายคือ หัว BNC
• ห้ามต่อหัว BNC เข้ากับ LAN Card โดยตรง ต้องต่อด้วย T-Connector เท่านั้น
• เครื่องตัวแรกและตัวสุดท้ายในเครือข่าย ต้องปิดด้วย Terminator ขนาด 50 โอมห์
• ความยาวของสายแต่ละเส้นที่ต่อระหว่าง Workstation ต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 0.5 เมตร
• สายสัญญาณต่อ 1 Segment ยาวไม่เกิน 200 เมตร (185 – 200 เมตร )
• ใน 1 Segment สามารถต่อเป็นเครือข่ายได้ไม่เกิน 30 เครื่อง
• ในกรณีที่ต้องการต่อมากกว่า 30 เครื่อง ต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Repeater
เพื่อเพิ่ม Segment โดยสามารถต่อ Repeater ได้ไม่เกิน 4 Repeater ( ดังนั้น 4 Repeater = 5 Segment)
• ความยาวของสายสัญญาณทั้งหมด สูงสุด 1000 เมตร (200 เมตรต่อ 1 Segment คูณด้วย 5 Segment)
• จำนวนเครื่องสูงสุดในเครือข่าย 150 เครื่อง (30 เครื่องต่อ 1 Segment คูณด้วย 5 Segment)

3.10 Base 5
ความหมาย 10 คือความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps Base คือการส่งข้อมูลแบบ Baseband
• คือความยาวสูงสุด 500 เมตร 10 Base 5 เป็นแบบเครือข่ายที่มีลักษณะคล้ายกับ 10 Base 2
แต่จะใช้สาย Coaxial แบบหนา (Thick Coaxial หรือ Back Bone)
เป็นสายชนิด RG-8 ซึ่งสายจะเป็นสีเหลืองและมีขนาดใหญ่โดย Teminator (50 โอมห์ ) เป็นตัวปิดหัว
และท้ายของเครือข่าย เครือข่ายชนิด 10 Base 5 นี้ จะมีต่อจำนวนเครื่องได้มากกว่า
และต่อในระยะได้ไกลกว่าแบบ 10 Base 2 แต่ในปัจจุบันมักไม่นิยมใช้กัน
เนื่องจากต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ควรทราบ มีดังนี้
แผงวงจรเครือข่าย (LAN Card) คือแผงวงจรเครือข่ายที่เสียบไว้กับตัวเครื่อง และเชื่อมต่อด้วยสายเพื่อต่อเป็นเครือข่าย
โดยแผงวงจรเครือข่ายนี้จะมีหัวเสียบเป็นชนิด DIX Connector Socket ( LAN Card ) ชนิด AUI
ใช้กับมาตรฐาน 10 Base 5ข้อกำหนดของ 10 Base 5
• ใช้สาย Thick Coaxial ชนิด RG-8
• หัวที่ใช้ต่อกับสายคือหัว DIX หรือบางทีอาจจะเรียกว่า หัว AUI
• เครื่องตัวแรกและตัวสุดท้ายในเครือข่ายต้องปิดด้วย N-Series Terminator ขนาด 50 โอมห์
• ระยะห่างระหว่าง Transceiver ต้องไม่ต่ำกว่า 2.5 เมตร
• Transceiver Cable จะมีความยาวได้ไม่เกิน 50 เมตร
• ใน 1 Segment สามารถต่อเป็นเครือข่ายได้ไม่เกิน 100 เครื่อง
• สายสัญญาณต่อ 1 Segment ยาวไม่เกิน 500 เมตร
• ในกรณีที่ต้องการต่อมากกว่า 100 เครื่อง ต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Repeater
เพื่อเพิ่มSegment โดยสามารถต่อ Repeater ได้ไม่เกิน 4 Repeater (ดังนั้น 4 Repeater = 5 Segment)
• ความยาวของสายสัญญาณทั้งหมด สูงสุด 2,500 เมตร (500 เมตรต่อ 1 Segment คูณด้วย 5 Segment )
• จำนวนเครื่องสูงสุดในเครือข่าย 500 เครื่อง (100 เครื่องต่อ Segment คูณด้วย 5 Segment )


4.100 Base F
100Base-Fสาย AMP OSP (Outside Plant) ถูกออกแบบมาเฉพาะเพื่อการติดตั้งในพื้นที่ขนาดใหญ่
เพราะสามารถติดตั้งไว้บนเสาโยง หรือลอดท่อใต้ดิน เพื่อเชื่อมต่อระหว่างอาคาร สายถูกทดสอบตามมาตรฐาน TIA
ซึ่งเป็นข้อกำหนดสำหรับสายไฟเบอร์ออปกติ ทั้งยังมีคุณสมบัติเกินมาตรฐานไปอีกขั้น
จึงรองรับได้ทั้ง 100Base-F, 155/622 Mbps ATM และกิกะบิตอีเธอร์เน็ต

5.100BASE-FX
100BASE-FX Multimode LC SFP Transceiver
(P/N: DEM-211) มอบประสิทธิภาพการทำงานระดับสูงให้กับแอพพลิเคชันการสื่อสารข้อมูลแบบซีเรียลออพติคัลดาต้า
นอกจากนั้นยังประกอบด้วยตัวเชื่อมต่อที่มีการทำงานแบบดูเพล็กซ์ LC
รวมถึงยังสามารถใช้งานร่วมกับมาตรฐานการสื่อสารแบบ IEEE 802.3u
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นเป็น 100 เมกะบิตต่อวินาที ในโหมดฮาฟดูเพล็กซ์สำหรับแอพพลิเคชันเคเบิลไฟเบอร์
ทั้งนี้การอินทริเกรทตัวรับส่งคุณภาพสูงของดีลิงค์นั้นก็เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
ปราศจากอาการกระตุกของสัญญาณ และเพื่อให้การเชื่อมต่อแบบออพติคัลสามารถขยายออกไปได้มากยิ่ง
ขึ้นโดยไม่มีการลดประสิทธิภาพลง อุปกรณ์นี้จึงช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลในระยะสั้น ระยะกลาง
และระยะทางที่ไกลๆ ทั้งในส่วนของการใช้งานภายในอาคาร โรงงาน แคมปัสและในตัวเมืองมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น
และเมื่อสวิตช์ 2 ตัวมีการเชื่อมต่อกันแล้วโดยใช้ตัวรับส่ง DEM-211 ทั้ง 2 ทาง
ผู้ใช้งานจะได้รับอัตราเร็วของการเชื่อมต่อที่ระดับ 155 เมกะบิตต่อวินาที
ยิ่งไปกว่านั้นยังได้มอบการเชื่อมต่อแบบไฟเบอร์ออพติค 100BASE-FX SFP
บนพอร์ต Gigabit combo SFP ให้กับสวิตช์ของดีลิงค์อีกด้วย

เส้นใยแก้วนำแสง

เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optic) คืออะไร
เส้นใยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออปติก เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก
เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา เส้นใยแก้วนำแสงที่ดี
ต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมากเส้นใยแก้วนำแสง
สามารถแบ่งตามความสามารถในการนำแสงออกได้เป็น 2 ชนิด
คือ เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical Fibers, SM) และชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM) ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเส้นใยแก้วนำแสง ที่ทำมาจากพลาสติกเพื่องานบางอย่างที่ไม่คำนึงถึงการสูญเสียสัญญาณมากนัก เช่น การสื่อสารในระยะทางสั้น ๆ ไม่กี่เมตร

เส้นใยแก้วนำแสงประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน
คือ ส่วนที่เป็นตัวกลางนำแสงซึ่งทำจากวัสดุ เช่น แก้ว พลาสติก เรียกว่าแกน (core) กับส่วนที่เป็นที่ห่อหุ้มแกน (cladding)
โดยดัชนีหักเหของที่ห่อหุ้มแกนจะมีค่าน้อยกว่าดัชนีหักเหของแกนทั้งนี้ก็เพื่อกั้นไม่ให้แสงภายในเส้นใยแก้วนำแสงทะลุออกมาภายนอก
เส้นใยแก้วนำแสงบางรุ่นจะมีเพียงแกนกับที่ห่อหุ้มแกนเท่านั้น จึงทำให้เส้นใยแก้วนำแสงดังกล่าวมีขนาดเล็กมาก
แต่ในเส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้งานทั่วไปนั้นถัดจากส่วนที่ห่อหุ้มแกนออกมา จะเป็นส่วนที่ห่อหุ้มสำหรับทำหน้าที่ป้องกันการฉีกขาดของเส้นใยแก้วนำแสง
และเป็นส่วนที่รองรับแรงดึงแรงบิดที่กระทำต่อเส้นใยแก้วนำแสง รวมทั้งป้องกันไม่ให้แสงหรือรังสีอินฟราเรดจากภายนอกเข้ามารบกวนสัญญาณ
ภายในเส้นใยแก้วนำแสง ส่วนห่อหุ้มนี้มักจะทำจากวัสดุเหนียวสีดำ
สำหรับเส้นใยแก้วนำแสงบางรุ่นที่มีขนาดใหญ่มาก จะมีการใส่สายเคเบิ้ลโลหะด้วยเพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทาน
ในอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย สำนักงานอาคารอุตสาหกรรมต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้สายสัญญาณเพื่อเชื่อมโยงระบบสื่อสาร แต่เดิมสายสัญญาณที่นำมาใช้
ได้แก่ สายตัวนำทองแดง ปัจจุบันสายสัญญาณระบบสื่อสารมีความจำเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะ ระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์
และมีแนวโน้มที่จะรวมระบบสื่อสาร อย่างอื่นประกอบเข้ามาในระบบด้วย เช่น ระบบเคเบิลทีวี ระบบโทรศัพท์
ระบบการบริการข้อมูลข่าวสารเฉพาะของบริษัทผู้ให้บริการต่างๆ ความจำเป็นลักษณะนี้ จึงมีผู้ตั้งคำถามว่า ถึงเวลา
แล้วหรือยังที่จะให้อาคารที่สร้างใหม่ มีระบบเครือข่ายสายสัญญาณด้วยเส้นใยแก้วนำแสง หากพิจารณาให้ดีพบว่า เวลานั้นได้มาถึงแล้ว
ปัจจุบันราคาของเส้นใยแก้วนำแสงที่เดินในอาคารมีราคาใกล้เคียงกับสาย UTP แบบเกรดที่ดี เช่น CAT 5 ขณะเดียวกันสายเส้นใยแก้วนำแสง ให้ประสิทธิภาพที่สูงกว่ามาก และรองรับการใช้งานในอนาคตได้มากกว่า สายยูทีพี (UTP) แบบ CAT 5 รองรับความเร็วสัญญาณ
ได้ 100 เมกะบิตต่อวินาที และมีข้อจำกัดในเรื่องความยาวเพียง 100 เมตร ขณะที่สายใยแก้วนำแสงรองรับความถี่สัญญาณได้หลายร้อยเมกะเฮิรตซ์
และยังใช้ได้กับ ความยาวถึง 2,000 เมตร การพัฒนาในเรื่องต่างๆของเส้นใยแก้วนำแสงได้ก้าวมาถึงจุดที่จะนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางแล้ว
บทความนี้จึงขอนำเสนอเพื่อแสดงให้เห็นว่า เส้นใยแก้วนำแสงมีจุดเด่นอย่างไร มีแนวโน้มการใช้งานด้านใดบ้าง
และที่สำคัญคือ จะได้เป็นข้อมูลสำหรับการศึกษา และทำความเข้าใจกับเส้นใยแก้วนำแสง เพื่อว่าจะได้เห็นข้อดีข้อเสีย
รวมถึงแนวทางการนำมา ประยุกต์ให้คุ้มค่า โดยเฉพาะการมองแนวทางของเทคโนโลยีในระยะไกล

จุดเด่นของสายใยแก้วนำแสง
จุดเด่นของเส้นใยแก้วนำแสงมีหลายประการ โดยเฉพาะจุดที่ได้เปรียบสายตัวนำทองแดง
ที่จะนำมาใช้แทนตัวนำทองแดง จุดเด่นเหล่านี้ มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งประกอบด้วย
ความสามารถในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร เส้นใยแก้วนำแสงที่เป็นแท่งแก้ว ขนาดเล็ก มีการโค้งงอได้
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้กันมากคือ 62.5/125 ไมโครเมตร เส้นใยแก้วนำแสงขนาดนี้ เป็นสายที่นำมาใช้ภายในอาคารทั่วไป
เมื่อใช้กับคลื่นแสงความยาวคลื่น 850 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้มากกว่า 160 เมกะเฮิรตซ์ ที่ความยาว 1 กิโลเมตร
และถ้าใช้ความยาวคลื่น 1,300 นาโนเมตร จะส่งสัญญาณได้กว่า 500 เมกะเฮิรตซ์ ที่ความยาว 1 กิโลเมตร
และถ้าลดความยาวลงเหลือ 100 เมตร จะใช้กับความถี่ของสัญญาณมากกว่า 1 กิกะเฮิรตซ์ได้
ดังนั้นจึงดีกว่าสายยูทีพีแบบแคต 5 ที่ใช้กับสัญญาณได้ 100 เมกะเฮิรตซ์

กำลังสูญเสียต่ำ
เส้นใยแก้วนำแสงมีคุณสมบัติในเชิงการให้แสงวิ่งผ่านได้ การบั่นทอนแสงมีค่าค่อนข้างต่ำ ตามมาตรฐานของเส้นใยแก้วนำแสง
การใช้เส้นสัญญาณนำแสงนี้ใช้ได้ยาวถึง 2,000 เมตร หากระยะทางเกินกว่า 2,000 เมตร ต้องใช้ รีพีตเตอร์ทุกๆ 2,000 เมตร
การสูญเสียในเรื่องสัญญาณจึงต่ำกว่าสายตัวนำทองแดงมาก ที่สายตัวนำทองแดงมีข้อกำหนดระยะทางเพียง 100 เมตร
หากพิจารณาในแง่ความถี่ที่ใช้ ผลตอบสนองทางความถี่มีผลต่อกำลังสูญเสีย โดยเฉพาะในลวดตัวนำทองแดง เมื่อใช้เป็นสายสัญญาณ
คุณสมบัติ ของสายตัวนำทองแดงจะเปลี่ยนแปลง เมื่อใช้ความถี่ต่างกัน โดยเฉพาะเมื่อใช้ความถี่ของสัญญาณที่ส่งในตัวนำทองแดง สูงขึ้น
อัตราการสูญเสียก็จะมากตามแต่กรณีของเส้นใยแก้วนำแสง เราใช้สัญญาณความถี่มอดูเลตไปกับแสง การเปลี่ยน
สัญญาณรับส่งข้อมูลจึงไม่มีผลกับกำลังสูญเสียทางแสง

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไม่สามารถรบกวนได้
ปัญหาที่สำคัญของสายสัญญาณ แบบทองแดง คือ การเหนี่ยวนำโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัญหานี้มีมาก
ตั้งแต่เรื่องการรบกวนระหว่างตัวนำหรือเรียกว่า Crosstalk การไม่แมตซ์พอดีทางอิมพีแดนซ์ ทำให้มีคลื่นสะท้อนกลับ
การรบกวนจากปัจจัย ภายนอกที่เรียกว่า EMI ปัญหาเหล่านี้สร้างให้ผู้ใช้ต้องหมั่นดูแล แต่สำหรับเส้นใยแก้วนำแสง แล้ว
ปัญหาเรื่องเหล่านี้จะไม่มี เพราะแสงเป็นพลังงานที่มีพลังงานเฉพาะ และไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเดินทาง
ในเส้นแก้วก็ปราศจากการรบกวนของแสงจากภายนอก

น้ำหนักเบา
เส้นใยแก้วนำแสงมีน้ำหนักเบากว่าเส้นลวดตัวนำทองแดง น้ำหนัก ของเส้นใยแก้วนำแสงขนาด 2 แกนที่ใช้ทั่วไป
มีน้ำหนักเพียงประมาณ 20 ถึง 50 เปอร์เซนต์ของสาย UTP แบบ CAT 5

ขนาดเล็ก
เส้นใยแก้วนำแสงมีขนาดทางภาคตัดขวางแล้ว เล็กกว่าลวดทองแดง มาก ขนาดของเส้นใยแก้วนำแสง เมื่อรวมวัสดุหุ้มแล้วมีขนาดเล็กกว่าสายยูทีพี
โดยขนาดของสายใยแก้วนี้ใช้พื้นที่ประมาณ 15 เปอร์เซนต์ ของเส้นลวดยูทีพีแบบ CAT 5

มีความปลอดภัยในเรื่องข้อมูลสูงกว่า
การใช้เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะใช้ แสงเดินทางในข่าย จึงยากที่จะทำการแท๊ปหรือทำการดักฟังข้อมูล
มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
การที่เส้นใยแก้วเป็นฉนวนทั้งหมด จึงไม่นำกระแสไฟฟ้า การลัดลงจร การเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าจึงไม่เกิดขึ้น

เส้นใยแก้วนำแสงมีราคาแพง
แนวโน้มทางด้านราคามีการเปลี่ยนแปลงราคาของเส้นใยแก้วนำแสงลดลง จนในขณะนี้ยังแพงกว่าสายยูททีพีอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนักนอกจากนี้
หลายคนยังเข้าใจว่า การติดตั้งเส้นใยแก้วนำแสงมีข้อยุ่งยาก และต้องใช้คนที่มีความรู้ความชำนาญ เสียค่าติตั้งแพง ความคิดนี้ก็คงไม่จริง
เพราะการติดตั้งทำได้ไม่ยากนักเนื่องจากมีเครื่องมือพิเศษช่วยได้มาก เครื่องมือพิเศษนี้สามารถเข้าหัวสายได้โดยง่ายกว่าแต่เดิมมาก
อีกทั้งราคาเครื่องมือก็ถูกลงจนมีผู้รับติดตั้งได้ทั่วไป

เส้นใยแก้วนำแสงยังไม่สามารถใช้กับเครื่องที่ตั้งโต๊ะได้
ปัจจุบันพีซีที่ใช้ส่วนใหญ่ต่อกับแลนแบบอีเธอร์เน็ต ซึ่งได้ความเร็ว 10 เมกะบิต การเชื่อมต่อกับแลนมีหลายมาตรฐาน
โดยเฉพาะปัจจุบันหากใช้ความเร็วเกินกว่า 100 เมกะบิต สายยูทีพีรองรับไม่ได้ เช่น เอทีเอ็ม 155 เมกะบิต
แนวโน้มของการใช้งานระบบเครือข่ายมีทางที่ต้องใช้แถบกว้างสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องการให้พีซีเป็นมัลติมีเดียเพื่อแสดงผลเป็นภาพวิดีโอ
การใช้เส้นใยแก้วนำแสงดูจะเป็นทางออก พัฒนการของการ์ดก็ได้พัฒนาไปมากเอทีเอ็มการ์ดใช้ความเร็ว 155 เมกะบิต
ย่อมต้องใช้เส้นใยแก้วนำแสงรองรับ การใช้เส้นใยแก้นำแสงยังสามารถใช้ในการส่งรับวิดีโอคอนเฟอเรนซ์
หรือสัญญาณประกอบอื่น ๆ ได้ดี